สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมของชาวภูเก็ตที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ที่อยู่อาศัย
สถานที่ราชการ และวัดวาอาราม สำหรับที่อยู่อาศัยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูเก็ต สามารถแบ่งได้เป็น สถาปัตยกรรมแบบพื้นบ้าน สถาปัตยกรรมแบบจีน
และสถาปัตยกรรมแบบผสม (แบบชิโนโปรตุกิส) ซึ่งมีรายละเอียดังนี้
รูปแบบ สถาปัตยกรรม : แบบพื้นบ้าน
ลักษณะสำคัญ |
วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ไม้ไผ่ ไม้โกงกาง หวาย และจาก |
คุณสมบัติ |
หาได้ง่ายจาก ท้องถิ่น |
ลักษณะสำคัญ |
การตั้งเสาเรือนจะไม่ฝัง ดิน แต่จะวางหินเป็นฐาน |
คุณสมบัติ |
ป้องกันการทรุด ตัว เพราะพื้นดินมีสภาพเป็นดินทราย |
ลักษณะสำคัญ |
ฝาเรือนทำด้วยไม้ไผ่ขัด แตะเป็นลาย เช่น ลายลูกแก้ว ลายสองฯลฯ ไม่นิยม เจาะหน้าต่าง |
คุณสมบัติ |
อากาศสามารถ ถ่ายเทได้สะดวก |
ลักษณะสำคัญ |
ตัวเรือน ไม่มีระเบียง |
คุณสมบัติ |
เข้ากับสภาพภูมิ อากาศ ช่วงฝนตก พื้นเรือนจะไม่ผุ |
ที่ตั้งบริเวณ |
บ้านดอน บ้านเคียน บ้านไนทอน และ บ้านฉลอง |
รูปแบบ สถาปัตยกรรม : แบบจีน
ลักษณะสำคัญ |
วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ดินเผา และดินเหนียว |
คุณสมบัติ |
แข็งแรง และมี ความทนทาน |
ลักษณะสำคัญ |
ตัวเรือนส่วนใหญ่จะเตี้ย |
คุณสมบัติ |
เหมาะกับสภาพ อากาศที่ฝนตกชุก และลมแรง |
ที่ตั้งบริเวณ |
อำเภอกะทู้ |
รูปแบบ สถาปัตยกรรม : แบบผสม ( แบบชิโนโปรตุกิส )
ลักษณะสำคัญ |
ตัวตึกมีลักษณะผสม แบบยุโรป และเอเชีย ( จีน ) |
คุณสมบัติ |
อาคารไม่ร้อนอบ อ้าว มีแสงสว่าง ตามธรรมชาติ |
ลักษณะสำคัญ |
มีทางเดินใต้ตึกเชื่อมต่อ กันระหว่างแต่ละตึก เรียกว่า อาเขต |
คุณสมบัติ |
ช่วงฝนตกสามารถ เดินได้โดยไม่เปียก |
ที่ตั้งบริเวณ |
บริเวณตัวเมือง ภูเก็ต ได้แก่ ถนน ถลาง ถนนรัษฎา ถนนเยาวราช ฯลฯ |