![]() |
|
เมนูหลัก
การบริหารราชการจังหวัด
ระบบฐานข้อมูล
ข้อมูล/สถิติ น่ารู้
สนับสนุนการปฏิบัติราชการ
คุณธรรมและความโปร่งใส
![]() |
![]() |
ประวัติความเป็นมาของสำนักงานจังหวัดชื่อสำนักงานจังหวัดปรากฎขึ้นเป็นครั้งแรกในพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2495 ในส่วนที่ว่าด้วยการ แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ตามมาตรา 38 ได้บัญญัติให้แบ่งส่วน ราชการของจังหวัด ดังนี้ แม้ว่ากฎหมายฉบับดังกล่าว ได้กำหนดให้มีสำนักงานเป็นศูนย์ กลางในการบริหารราชการ อำนวยการ และประสานราชการจังหวัด ตั้งแต่พุทธศักราช 2495 ก็ตาม แต่ก็ยังมิได้มีการจัดตั้งสำนักงาน จังหวัด กระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะ รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2516 จึงได้กำหนดให้มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นในสำนักงานจังหวัด จำนวน 5 จังหวัด และได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 กำหนดให้ขยายการจัดอัตรากำลังเพิ่มขึ้นใน ปี พ.ศ. 2518 อีกจำนวน 16 จังหวัด และในปี พ.ศ. 2519 จำนวน 49 จังหวัด (รวมทั้งสำนักงานจังหวัดภูเก็ต) ทั้งนี้เพื่อให้สำนักงานจังหวัดเป็น หน่วยงานที่มีขีดความสามารถในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดำเนินการเป็นศูนย์กลางในการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด ได้เช่นเดียวกับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยในส่วนกลาง เนื่องจากสำนักงานจังหวัดเป็นหน่วยงานราชการ จึงมีการจัด โครงสร้าง และการบริหารจัดการในรูปแบบขององค์การระบบราชการ ที่แบ่งงานกันตามความถนัดเฉพาะด้าน ยึดหลักสายการบังคับบัญชา ตามลำดับชั้น ยึดกฎหมายและระเบียบเป็นหลักในการปฏิบัติงาน เน้นความสัมพันธ์ ที่ไม่เป็นส่วนตัว ไม่ยึดติดในตัวบุคคล แต่ยึดตำแหน่ง เป็นหลัก รับบุคลากรเข้าทำงานและเลื่อนตำแหน่ง หรือให้ผลตอบแทน ตามความสามารถ และมีความมั่นคงในอาชีพการงาน โดยมีการแบ่ง โครงสร้างก่อนการปฏิรูประบบราชการ ออกเป็น 3 ฝ่ายดังนี้ ในปี พ.ศ. 2548 อ.ก.พ. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้มีมติ ในการประชุม ครั้งที่ 3 / 2548 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2548 อนุมัติให้จัดตั้ง กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคลขึ้นในโครงสร้างการ แบ่งงานภายในสำนักงานจังหวัด ส่งผลให้ สำนักงานจังหวัดมี โครงสร้างใหม่ดังนี้ |